วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

ข่าวประชาสัมพันธ์หลักสูตร การบริหารระบบสารสนเทศทางการแพทย์ รุ่นที่ 2


หลักสูตรนี้เน้นที่การบริหารระบบสารสนเทศทางการแพทย์ ( Information Management )  เหมาะสำหรับผู้บริหาร เพื่อที่จะสามารถวางแผนการบริหารจัดการระบบสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยเน้นที่การออกแบบและการวางแผนการบริหารจัดการสารสนเทศแบบบูรณาการ เพื่อสอดคล้องกับเป้าหมายทางกลยุทธ์ขององค์กร  ซึ่งสำหรับทางการแพทย์เราแล้วก็คือความปลอดภัยของคนไข้ และเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ ( Patient safety and efficiency )  โดยเนื้อหาวิชาประกอบด้วย 5 หัวข้อหลักซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารองค์กรสมัยใหม่จำเป็นต้องรู้ได้แก่
  1. Enterprise Architecture เพื่อให้ผู้บริหารได้เข้าใจถึงการออกแบบ Information Structure ขององค์กรเพื่อขับเคลื่อนองค์กรในระดับกลยุทธ์  โดยวิทยากรจากชมรมสถาปนิกซอฟท์แวร์ (ประเทศไทย)
  2. Enterprise Governance ( Healthcare CobiT )  โดยวิทยากรจากสมาคมผู้ควบคุมและตรวจสอบระบบสารสนเทศ ภาคพื้นกรุงเทพ  และอาจารย์กำพล ศรธนะรัตน์ ซึ่งมีประสบการในการสอน CobiT และประสบการณ์ในการ Implement CobiT ในกลต. เพื่อให้ผู้บริหารได้เข้าใจแนวคิดการประยุกต์การดูแลกำกับองค์กรและการบริหารจัดการความเสี่ยง ( Corporate Governance & Enterprise Risk Management ) และการบริหารจัดการระบบสารสนเทศขององค์กร
  3. Healthcare Information Security ( ISO 27799 ) โดยทีมอาจารย์ปริญญา หอมเอนก ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์เชี่ยวชาญในเรื่องของ Information Security และสำหรับหลักสูตรนี้จะสอน ISO 27799 ซึ่งเป็นการบริหารจัดการความเสี่ยงของระบบสารสนเทศทางการแพทย์ตามมาตรฐานสากล  ไม่ใช่ IT Security
  4. Health Informatics เพื่อให้ผู้บริหารได้เข้าใจถึงความหมายของคำว่าเวชสารสนเทศ  ซึ่งจำเป็นมากสำหรับการบริหารขับเคลื่อนองค์กรทางการแพทย์ แต่ไม่มีการเปิดสอนอย่างเป็นทางการมาก่อนเลย
  5. Healthcare Supply Chain Management โดยวิทยากรจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้ผู้บริหารได้เข้าใจแนวคิดและหลักการออกแบบระบบสารสนเทศและการบริหารจัดการเพื่อเชื่อมโยงกระบวนการทำงานแบบบูรณาการตลอดห่วงโซ่อุปทานของระบบบริการสาธารณสุข
ผมขอทำความเข้าใจกับผู้บริหารทุกท่านว่า การบริหารจัดการระบบสารสนเทศทางการแพทย์ ไม่ใช่แค่การวางแผนว่า  จะซื้อคอมพิวเตอร์กี่เครื่อง จะซื้อซอฟท์แวร์อะไร  แต่ที่ผ่านมาเรายังไม่มีหลักสูตรสำหรับผู้บริหารเลย ทำให้โรงพยาบาลเสียเงินไปกับการจัดซื้อและจัดจ้าง แต่ไม่มีผลเพิ่มคุณภาพในการรักษาพยาบาล หรือลดความผิดพลาดในการให้บริการเลย ถ้าเราย้อนกลับไปดูแล้วตั้งคำถามว่าองค์กรเราเสียเงินซื้อระบบคอมพิวเตอร์ไปเป็นจำนวนไม่น้อย แต่เราไม่สามารถตอบได้ว่าคนไข้ได้รับประโยชน์อย่างไรบ้าง  เรายังไม่เคยมีการวางแผนแม่บทระบบข้อมูลข่าวสารขององค์กรเลย  เรามีแต่โปรแกรมคอมพิวเตอร์และรายงานซึ่งไม่ตอบสนองต่อความต้องการในการดูแลคนไข้ของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์เลย เรามีระบบคอมพิวเตอร์ที่ให้หมอคีย์ยาหรือค่าใช้จ่าย ซึ่งก็เท่ากับว่าเอาหมอไปทำงานเสมียน ทำให้ไม่ได้รับการยอมรับจากแพทย์  และลดประสิทธิภาพในการดูแลรักษาคนไข้ของแพทย์ เพราะต้องไปมัวเสียเวลากับหน้าจอและคีย์บอร์ด
ผมแนะนำว่าหลักสูตรนี้ทางโรงพยาบาลควรจะส่งผู้บริหารที่ดูแลในเรื่องงานพัฒนาคุณภาพ ผู้บริหารที่ดูแลในเรื่องการบริหารจัดการความเสี่ยง ผู้บริหารที่ดูแลระบบสารสนเทศ รวมทั้งผู้อำนวยการฝ่ายแพทย์ และฝ่ายพยาบาล มาเรียนร่วมกัน เพื่อที่จะได้สามารถนำไปออกแบบระบบสารสนเทศขององค์กรได้อย่างบูรณาการ  การบรรยายในหัวข้อ Enterprise architecture จะทำให้ผูู้บริหารทางฝ่ายพัฒนาคุณภาพและฝ่ายสารสนเทศได้เห็นภาพรวมของความต้องการของ Healthcare Information Infrastructure ขององค์กรเป็นอย่างไร รวมทั้งเรื่องของ Healthcare Information Security ก็ควรจะเป็นบทบาทและความรับผิดชอบของทางฝ่ายคุณภาพ ซึ่งดูแลเรื่องการบริหารจัดการความเสี่ยง  ปัจจุบันแนวคิดเรื่องของ Information Security ก็คือ Information quality assurance    ส่วนทางฝ่ายไอทีเป็นเพียงผู้สนับสนุนทางด้านเทคนิคเท่านั้น   สำหรับการบรรยายในหัวข้อของ Enterprise Governance ( IT Governance / CobiT ) นั้นจะทำให้ผู้บริหารได้เห็นภาพว่าการนำเอา Business Strategy เป็นตัวตั้งเพื่อที่จะไปออกแบบ IT Strategy และ IT Operation  จนถึงระดับ IT KPI  ซึ่งก็ควรจะเป็นการร่วมมือกันของทางฝ่ายทีมงานบริหารทุกท่าน
หลักสูตรนี้ได้รับความสนับสนุนในการจัดทำหลักสูตร และวิทยากรซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงจากองค์กรซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์และได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติหลายหน่วยงาน
  1. โรงเรียนการบริหารงานโรงพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ( www2.ra.mahidol.ac.th/has )
  2. เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย ( www.swpark.or.th )
  3. สมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศไทย ( www.tisa.or.th )
  4. ชมรมสถาปนิกซอฟต์แวร์ (ประเทศไทย) ( www.iasathailand.net )
  5. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ( www.mu-healthcarelogistics.org )
  6. สมาคมผู้ควบคุมและตรวจสอบระบบสารสนเทศ ภาคพื้นกรุงเทพ ( www.isaca-bangkok.org )
  7. สถาบันรหัสสากล สภาอุตสาหกรรม ( www.gs1thailand.org )
ขณะนี้เปิดรับสมัครรุ่นที่สองแล้ว  กำหนดการเรียนเฉพาะวันศุกร์ และวันเสาร์ เริ่มเรียนวันที่ 29 เมษายน - 16 กรกฎาคม 2554 ผู้สนใจดูรายละเอียดได้ที่
รีบหน่อยนะครับ เพราะจำกัดจำนวนผู้เรียน 25 ท่าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น